สุพรรณบุรีเมืองยุทธหัตถี
วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง
รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์
แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง
โดยได้เริ่มจัดทำและออกแบบพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธ์มังกร ขึ้น เพื่อนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของชาวจีน ในประเทศไทย ตลอดจนประวัติศาสตร์และอารยธรรมจีน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็น อารยธรรมที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีอายุยาว นานถึง 5,000 ปี บริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีออกแบบเป็นสัญลักษณ์รูปมังกรสัตว์เทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักกันดี ลำตัวมังกรภายนอกออกแบบอย่างถูกต้องตามลักษณะความเชื่อ หน้าต้องเป็นอูฐ ตาเหมือนกระต่าย มองเห็นในสิ่งที่คนทั่วไปมองไม่เห็น มีเขาของกวาง หูของวัว ตัวของงู เกล็ดของปลา ขาของเสือ อุ้งเท้าของ เหยี่ยว สีของลำตัวเลียแบบเครื่องกังไสโบราณ ภายใต้ตัวมังกรใหญ่ เป็นที่ตั้งของ "พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร"
หมู่บ้านมังกรสวรรค์
จำลองมากจากหมู่บ้านลี่เจียง 1000 ปี สถาปัตยกรรมล่าสุดที่ทางจังหวัดสุพรรณบุรีสร้างขึ้นมาเพื่อจำลองเมืองหมู่บ้านลี่เจียง ประเทศจีน ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเมืองมรดกโลกที่มีความเก่าแก่ถึง 1,000 ปี มาเที่ยวหมู่บ้านมังกรสวรรค์ก็จะได้บรรยากาศของหมู่บ้านจีนโบราณ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า โรงเตี้ยมสไตล์จีนโบราณ โรงหนัง และสัญลักษณ์ที่สำคัญคือ กังหันพ่อลูก เป็นกังหันไม้โบราณพันปีที่อยู่ตรงทางเข้า หน้าหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีหอชมวิวซึ่งสามารถชมวิวของเมืองสุพรรณได้ในมุมสูงและที่หน้าหอชมวิวคือ เสามังกรสววรค์ที่มาจาก เมืองเซียะเหมิน หมู่บ้านมังกรสวรรค์ ไม่เสียค่าเข้าชม เปิดบริการทุกวัน
รายละเอียดเพิ่มเติมอุทยานมังกรสวรค์
อุทยานมังกรสวรรค์ เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ปิดทุกวันอังคาร เข้าชมเป็นรอบๆ มีชุดหูฟังเสียงบรรยายภาษาอังกฤษและจีนให้บริการ
ค่าเข้าชมชาวไทยผู้ใหญ่ 299 บาท เด็ก 149 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 499 บาท เด็กต่างประเทศ 299 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3552 6211 – 2
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
จากกรุงเทพฯใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง เลือกเดินทาง ได้ 6 เส้นทาง คือ
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯระยะทางประมาณ 107 ก.ม. ผ่านอำเภอบางบัวทองไปจนถึงตัวจังหวัดสุพรรณบุรี หรือจากกรุงเทพฯผ่านนนทบุรี อำเภอบางบัวทอง ถึงจังหวัดสุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯระยะทางประมาณ 115 ก.ม.ผ่านจังหวัดปทุมธานี อำเภอลาดหลุมแก้ว ถึงตัวจังหวัด สุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯระยะทางประมาณ 132 ก.ม. ผ่านจังหวัดพระนครศรี อยุธยา ถึงตัวจังหวัดสุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯระยะทางประมาณ 228 ก.ม. ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเดิมบางนางบวช ไปจนถึงตัว
จังหวัดสุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 5จากกรุงเทพฯระยะทาง 150 ก.ม. ผ่านจังหวัดอ่างทอง ไปจนถึงตัวจังหวัดสุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 6 จากกรุงเทพฯระยะทาง 164 ก.ม. ผ่านจังหวัดนครปฐม อำเภอกำแพงแสน ไปจนถึงตัวจังหวัดสุพรรณบุรี
หรือใช้ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1543
2.รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทางออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ไปสุพรรณบุรี ทุกวันทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2936-2852-66 ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2894-6122 สถานีขนส่งสุพรรณบุรี
โทร. 0-3552-2373
และบริษัท สุพรรณทัวร์ โทร. 0-2884-9522 (สุพรรณบุรี) โทร. 0-3550-0817 ออกจากกรุงเทพ เที่ยวแรก 06.00 น.เที่ยวสุดท้าย 18.30 น. ออกจากสุพรรณบุรี เที่ยวแรก 04.00 น. เที่ยวสุดท้าย 17.45 น. หรือ www.transport.co.th
3. รถไฟ
ถ้าต้องการบรรยากาศท่องเที่ยวโดยรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยก็มีขบวนรถไฟไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี รถออกเวลา 16.40 น. ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง
รถสองแถว (บริการเฉพาะภายในตัวเมืองสุพรรณ)
การเดินทางในตัวเมืองสุพรรณบุรีมีรถสองแถวให้บริการ โดยขึ้นบริเวณสี่แยกนางพิม หากต้องการเดินทาง ออกนอก ตัวเมือง ติดต่อสอบถามที่คิวรถ บริเวณสี่แยกนางพิมได้เลย
จากกรุงเทพฯใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง เลือกเดินทาง ได้ 6 เส้นทาง คือ
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯระยะทางประมาณ 107 ก.ม. ผ่านอำเภอบางบัวทองไปจนถึงตัวจังหวัดสุพรรณบุรี หรือจากกรุงเทพฯผ่านนนทบุรี อำเภอบางบัวทอง ถึงจังหวัดสุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯระยะทางประมาณ 115 ก.ม.ผ่านจังหวัดปทุมธานี อำเภอลาดหลุมแก้ว ถึงตัวจังหวัด สุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯระยะทางประมาณ 132 ก.ม. ผ่านจังหวัดพระนครศรี อยุธยา ถึงตัวจังหวัดสุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯระยะทางประมาณ 228 ก.ม. ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเดิมบางนางบวช ไปจนถึงตัว
จังหวัดสุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 5จากกรุงเทพฯระยะทาง 150 ก.ม. ผ่านจังหวัดอ่างทอง ไปจนถึงตัวจังหวัดสุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 6 จากกรุงเทพฯระยะทาง 164 ก.ม. ผ่านจังหวัดนครปฐม อำเภอกำแพงแสน ไปจนถึงตัวจังหวัดสุพรรณบุรี
หรือใช้ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1543
2.รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทางออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ไปสุพรรณบุรี ทุกวันทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2936-2852-66 ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2894-6122 สถานีขนส่งสุพรรณบุรี
โทร. 0-3552-2373
และบริษัท สุพรรณทัวร์ โทร. 0-2884-9522 (สุพรรณบุรี) โทร. 0-3550-0817 ออกจากกรุงเทพ เที่ยวแรก 06.00 น.เที่ยวสุดท้าย 18.30 น. ออกจากสุพรรณบุรี เที่ยวแรก 04.00 น. เที่ยวสุดท้าย 17.45 น. หรือ www.transport.co.th
3. รถไฟ
ถ้าต้องการบรรยากาศท่องเที่ยวโดยรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยก็มีขบวนรถไฟไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี รถออกเวลา 16.40 น. ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง
รถสองแถว (บริการเฉพาะภายในตัวเมืองสุพรรณ)
การเดินทางในตัวเมืองสุพรรณบุรีมีรถสองแถวให้บริการ โดยขึ้นบริเวณสี่แยกนางพิม หากต้องการเดินทาง ออกนอก ตัวเมือง ติดต่อสอบถามที่คิวรถ บริเวณสี่แยกนางพิมได้เลย
เบอร์โทรสำคัญ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย Call Center 1672
ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3553 6030
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี : พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร โทรศัพท์ 0 3552 6211
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3540 8220, 0 3553 8200
สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3553 5376
เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3551 1987, 0 3551 1021
สถานีขนส่งสายใต้ โทรศัพท์ 0 2894 6122
สถานีขนส่งสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3552 2373
สถานีรถไฟสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3551 1950
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย Call Center 1672
ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3553 6030
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี : พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร โทรศัพท์ 0 3552 6211
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3540 8220, 0 3553 8200
สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3553 5376
เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3551 1987, 0 3551 1021
สถานีขนส่งสายใต้ โทรศัพท์ 0 2894 6122
สถานีขนส่งสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3552 2373
สถานีรถไฟสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0 3551 1950
ขออนุญาตเจ้าของรูปภาพทั้งหมดที่นำมาเผยแพร่ในทั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ แต่เพียงนำมาประกอบการเรียนการสอนเท่านั่น